ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bandura
ประวัติของศาสตราจารย์บันดูรา
- อัล เบิร์ต บันดูร า (Albert Bandura) » นักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่ให้ความสนใจงานที่
เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
-เกิดที่เมืองอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา
-ได้รับปริญญาศิลปะศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยบริติช
โคลัมเบีย และได้รับปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ทางจิตวิทยาคลินิก
จากมหาวิทยาลัยไอโอวา
-รับตำแหน่งที่ภาควิชาจิตวิทยา
ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
แนวคิดและทฤษฎี
บันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ
เนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ
บันดูราเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมาก
เป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational
Learning) หรือการเลียนแบบจากตัวแบบ (Modeling) สำหรับตัวแบบไม่จำเป็นต้องเป็น ตัวแบบที่มีชีวิตเท่านั้น แต่อาจจะ
เป็นตัวแบบ สัญลักษณ์ เช่น ตัวแบบที่เห็นในโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เกมส์คอมพิวเตอร์
หรืออาจจะเป็น รูปภาพ การ์ตูน หนังสือ นอกจากนี้ คำบอกเล่า
ด้วยคำพูดหรือข้อมูลที่เขียนเป็นลายลักษณ์- อักษรก็เป็นตัวแบบได้
บันดูราได้ให้ความสำคัญของการปฏิสัมพันธ์ของอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม
และถือว่าการเรียนรู้ก็เป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม
โดยผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน บันดูราได้ถือว่าทั้งบุคคลที่ต้องการจะเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุของพฤติกรรมและได้อธิบายการปฏิสัมพันธ์
ดังนี้
B
(Behavior) = พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคล P (Person) =
บุคคล (ตัวแปรที่เกิดจากผู้เรียน เช่น ความคาดหวังของผู้เรียน ฯลฯ) E(Environment) = สิ่งแวดล้อม
วีดีโอที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือเลียนแบบมี
2 ขั้น
ขั้นที่ 1 ขั้นการได้รับมาซึ่งการเรียนรู้ (Acquisition) ทำให้สามารถแสดงพฤติกรรมได้
สิ่งเร้าหรือการรับเข้า > บุคคล
(Input)
(Person)
ขั้นที่ 2 เรียกว่าขั้นการกระทำ (Performance) ซึ่งอาจจะกระทำหรือไม่กระทำก็ได้
สิ่งเร้าหรือการรับเข้า > บุคคล
(Input)
(Person)
บันดูราได้ให้ความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้
(Learning) กับการกระทำ(Performance)ซึ่งสำคัญ
มาก เพราะคนเราอาจจะเรียนรู้อะไรหลายอย่างแต่ไม่ จำเป็นต้องแสดงออกทุกอย่าง
เช่นเราอาจจะเรียนรู้วิธี การ ทุจริตในการสอบว่าต้องทำอย่างไรบ้าง แต่ถึง
เวลาสอบจริงเราอาจจะไม่ทุจริตก็ได้
ปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้โดยการสังเกต
1. กระบวนการความเอาใจใส่ (Attention)
ความใส่ใจของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าผู้เรียนไม่มีความใส่ใจการเรียนรู้ก็จะไม่เกิดขึ้น
ผู้เรียนจะต้องมีความใส่ใจ (Attention) ที่จะสังเกต ตัวแบบ
ไม่ว่าเป็นการแสดงโดยตัวแบบจริงหรือตัวแบบ สัญลักษณ์ ถ้าเป็นการอธิบายด้วยคำพูดผู้เรียนก็ต้องตั้งใจฟังและถ้าจะต้องอ่านคำอธิบายก็จะต้องมีความตั้งใจทีจะอ่าน
2. กระบวนการจดจำ
(Retention)
ผู้เรียนสามารถจดจำสิ่งที่ตนเองสังเกตและไปเลียนแบบได้ถึงแม้เวลาจะผ่านไปก็ตาม
3.
กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวอย่าง (Reproduction)
เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกมาเป็นการการกระทำหรือแสดงพฤติกรรมเหมือนกับตัวแบบ
4. กระบวนการการจูงใจ (Motivation)
แรงจูงใจของผู้เรียนที่จะแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบที่ตนสังเกต
เนื่องมาจากความคาดหวังว่า การเลียนแบบจะนำประโยชน์มาใช้ เช่น
การได้รับแรงเสริมหรือรางวัล หรืออาจจะนำประโยชน์บางสิ่งบางอย่างมาให้ ตัวอย่าง
นักเรียนคนหนึ่งทำการบ้านเรียบร้อยถูกต้องแล้วได้รับรางวัลชมเชยจากครู
หรือให้สิทธิพิเศษก็จะเป็นตัวแบบให้แก่นักเรียนคนอื่น ๆ
พยายามทำการบ้านมาส่งครูให้เรียบร้อย
เพราะมีความคาดหวังว่าคงจะได้รับแรงเสริมหรือรางวัลบ้าง
การทดลอง
1.
บันดูรา ร็อส
และร็อส (Bandural, Ross&Roos, 1961) ได้แบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มหนึ่งให้เห็นตัวอย่างจากตัวแบบที่มีชีวิต
แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
เด็กกลุ่มที่สองมีตัวแบบที่ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
เด็กกลุ่มที่สามไม่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมให้ดูเป็นตัวอย่าง
ผลการทดลองพบว่า
เด็กที่อยู่ในกลุ่มที่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
จะแสดงพฤติกรรมเหมือนกับที่สังเกตจากตัวแบบการทดลอง
2.
บันดูรา
และเม็นลอฟ (Bandural & Menlove, 1968)
ได้ศึกษาเกี่ยวกับเด็ก
ซึ่งมีความกลัวสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข
จนกระทั่งพยายามหลีกเลี่ยงหรือไม่มีปฏิสัมพันธ์กับสัตว์เลี้ยง
บันดูราและเม็นลอฟได้ให้เด็กกลุ่มหนึ่งที่มีความกลัวสุนัขได้สังเกตตัวแบบที่ไม่กลัวสุนัข
และสามารถจะเล่นกับสุนัขได้อย่างสนุก โดยเริ่มจากการค่อย ๆ ให้ตัวแบบเล่น แตะ
และพูดกับสุนัขที่อยู่ในกรงจนกระทั่งในที่สุดตัวแบบเข้าไปอยู่ในกรงสุนัข
ผลของการทดลองปรากฏว่าหลังจากสังเกตตัวแบบที่ไม่กลัวสุนัข เด็กจะกล้าเล่นกับสุนัขโดยไม่กลัว
หรือพฤติกรรมของเด็กที่กล้าที่จะเล่นกับสุนัขเพิ่มขึ้นและพฤติกรรมที่แสดงว่ากลัวสุนัขจะลดน้อยไป
การนำทฤษฎีมาประยุกต์ในการเรียนการสอน
1
บ่งชี้วัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมหรือเขียนวัตถุประสงค์เป็นเชิงพฤติกรรม
2 แสดงตัวอย่างของการกระทำหลายๆอย่าง
3
ให้คำอธิบายควบคู่กันไปกับการให้ตัวอย่างแต่ละอย่าง
4
ชี้แจงขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกตแก่นักเรียน
5
จัดเวลาให้นักเรียนมีโอกาสที่แสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ
6
ให้เสริมแรงแก่นักเรียนที่สามารถเลียนแบบได้อย่างถูกต้อง
สรุป
เน้นความสำคัญของการเรียนรู้แบบการสังเกตหรือเลียนแบบจากตัวแบบ
ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งตัวบุคคลจริง ๆ เช่น ครู เพื่อน หรือจากภาพยนตร์โทรทัศน์
การ์ตูน การเรียนรู้โดยการสังเกตประกอบด้วย 2 ขั้น คือ
ขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางพุทธิปัญญา และขั้นการกระทำ
ตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลมีทั้งตัวแบบในชีวิตจริงและตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์
คลิกดู powerpoint
คลิกดู powerpoint
ดีมากเลยค่ะ ขอบคุนนะคะ
ตอบลบขอบคุณครับ
ตอบลบขอบคุณครับ
ตอบลบขอบคุณในความรู้ที่ให้
ตอบลบ