วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของฟาฟลอฟ (Classical Conditioning Theory)
    ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น ผู้ริเริ่มตั้งทฤษฎีนี้เป็นคนแรก คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ต่อมาภายหลังวัตสัน (Watson)ได้นำเอาแนวคิดของพาฟลอฟไปดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
     พาฟลอฟ เชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) คือ การตอบ สนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น  ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ นอกจากจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการวางเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ขึ้นมาแล้ว ยังหมายถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งเร้ากับปฏิกิริยาตอบสนองอย่างฉับพลัน หรือปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งพาฟลอฟได้อธิบายเรื่องราวการวางเงื่อนไขในแง่ของสิ่งเร้า (Stimulus - S) และการตอบสนอง (Response - R) 

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยวางเงื่อนไข แบ่งออกเป็น
UCS      Unconditioning Stimulus           สิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข
UCR      Unconditioning Response          การตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข
CS         Conditioning Stimulus               สิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข
CR         Conditioning Response              การตอบสนองที่ต้องวางเงื่อนไข

พาฟลอฟ ทดลองกับสุนัขในห้องปฏิบัติการ และได้ชื่อว่า
        การทดลองของพาฟลอฟมักเป็นพฤติกรรมรีเฟลกเป็นพฤติกรรมที่เราไม่สามารถควบคุมได้

   โดยทดลองให้ สุนัขเห็นผงเนื้อ ซึ่งสุนัขจะรู้สึกหิวแล้วน้ำลายไหล   ผงเนื้อ คือ UCS   สุนัขเห็นผงเนื้อแล้วเกิดน้ำลายไหล คือ UCSเป็นผู้กำหนด ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

   พาฟลอฟจึงลองเอาอย่างอื่นมาทำให้สุนัขน้ำลายไหล โดยให้เสียงกระดิ่งเป็น CS (ซึ่งธรรมดาสุนัขได้ยินก็ไม่ได้ทำให้น้ำลายไหล)

   โดยวางเงื่อนไขให้ CS มาคู่กับ UCS โดยการสั่นกระดิ่งพร้อมล่อด้วย ผงเนื้อ สุนัขจะน้ำลายไหล 

    ภายหลังแค่สั่นกระดิ่ง  สุนัขก็น้ำลายไหลได้(ซึ่งเป็น CR) น้ำลายไหล UCR กับ CR ไม่เหมือนกันเพราะตัวแรก (UCR) เกิดจากผงเนื้อ แต่ตัวหลัง (CR) เกิดจากกระดิ่ง ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว


      สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งแล้วน้ำลายไหล เสียงกระดิ่งคือสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้
กฎแห่งการเรียนรู้ของพาฟลอฟ มี 4 กฎ
       การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข = การเรียนรู้ในการทดลองของพาฟลอฟนั้น พบว่า


วีดีโอที่เกี่ยวข้อง


1.กฎแห่งการลดภาวะ (Law of extinction)
2.กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพ (Law of spontaneous recovery)
3.กฎแห่งสรุปกฎเกณฑ์โดยทั่วไป (Law of generalization)


4.กฎแห่งความแตกต่าง (Law of discrimination)
    การวางเงื่อนไข ซึ่งเรียกว่า  สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข” (Conditioned stimulus)และกิริยาการเกิดน้ำลายไหลของสุนัข เรียกว่าการตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข” (Conditioned response)ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข 
   การเชื่อมโยงสิ่งเร้าบางอย่างกับการตอบสนองบางอย่างมาตั้งแต่แรกเกิด แล้วพัฒนาขึ้น เรื่อย ๆ เมื่อเติบโตขึ้นตามธรรมชาติ โดยสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เรียกว่า สิ่งเร้าที่ไม่ได้ วางเงื่อนไข(Unconditioned stimulus = UCS) หมายถึง สิ่งเร้าที่มีอยู่ในธรรมชาติ และเมื่อนำมาใช้คู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขแล้วทำให้เกิดการเรียนรู้หรือตอบสนองจากการวางเงื่อนไขได้ และการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เรียกว่า การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned response = UCR) ซึ่งหมายถึง การตอบสนองตามธรรมชาติที่ไม่ต้องมีการบังคับ

1. การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
2. ช่วงเวลาในการให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข และไม่วางเงื่อนไข
3.ถ้ามีการวางเงื่อนไขซ้อนกันมากครั้ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น